วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ว่านหางช้าง


จากว่านเพชรหึง.........เป็นว่านหางช้าง (กล้วยไม้..ที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
ว่านมงคล..ยอดฮิต
สวัสดีครับ ทุกท่าน เมื่อกลางเดือนที่แล้วผม มีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)ชาวบ้านเรียกศูนย์เนื้อเยื่อ ที่นี่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ที่หายากและมีขนาดใหญ่ที่สุด ผมเลยคัดลอกบทความของท่านผอ.วันชัย มาให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษารับรู้ไปพร้อมๆกันว่ากล้วยไม้หรือว่าว่านหางช้างมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
กล้วยไม้ว่านเพชรหึง" หรือที่ชาวปักษ์ใต้รู้จักกันในชื่อ "ว่านหางช้าง" เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่งที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางของกล้วยไม้ที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงาม และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น โดยกล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในสกุล "แกรมมาโทฟิลลั่ม" (Grammatophyllum) ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae"ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง" หรือชื่อเดิมว่า "ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง" นั้นได้เริ่มศึกษาและขยายพันธุ์กล้วยไม้พันธุ์นี้ เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนและประชาชนทั่วไป นับตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค.ปี 2545 เป็นต้นมา จนสามารถขยายต้นพันธุ์ได้แล้วถึง 50,970 ต้น จากการศึกษาพบว่า "ว่านเพชรหึง" มักจะอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวและมีต้นโตมาก จนถือได้ว่าเป็น "ราชินีกล้วยไม้" แต่คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกว่า "ว่านหางช้าง" เนื่องจากลำลูกกล้วยมีลักษณะที่ยาว และมีใบติดอยู่ที่ปลายหลายใบ คล้ายกับหางช้างที่ชี้ขึ้นด้านบน นายวันชัย มุกดารัศมี ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า โดยทั่วไปว่านเพชรหึง เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ และมีต้นสูงราว 1-2 เมตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางต้น 3-5 เซนติเมตร ทั้งนี้ จะมีใบติดอยู่ที่ปลายลำลูกกล้วยเพียง 2-3 ใบ ส่วนดอกก็จะมีทั้งดอกชนิดช่อตั้งและช่อห้อย โดยกลีบดอกนั้นจะหนา มีพื้นกลีบสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว และยังจะมีแต้มน้ำตาลหรือม่วง คล้ายกับลวดลายของเสือ
ทั้งนี้ เมื่อศึกษาแล้วจะพบว่าว่านเพชรหึงนั้น เป็นกล้วยไม้ป่าที่หากยากและเป็นกล้วยไม้พันธุ์พืชสงวน โดยมีบางคนที่นำออกจากป่ามาปลูก แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูหรือขยายพันธุ์ได้ จึงทำให้กล้วยไม้พันธุ์นี้เริ่มที่จะสูญพันธุ์ ทางศูนย์จึงนำมาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งโดยธรรมชาติของกล้วยไม้ชนิดนี้ เมื่อผสมเกสรและติดฝัก จะมีเมล็ดขนาดเล็กมากนับแสนๆ เมล็ด ที่ล่องลอยออกไปตามกระแสลม ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกๆ ปี แต่จะมีเพียงไม่กี่เมล็ดเท่านั้นที่สามารถรอดได้ การขยายพันธุ์ว่านเพชรหึงด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จะเริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดและการดูแลอย่างดีในห้องปลอดเชื้อ (ห้องแล็ป) เป็นระยะๆ จนกว่าต้นกล้าจะโตและแข็งแรง ก่อนที่จะนำออกมาเลี้ยงแบบธรรมชาติ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นก็นำมาปลูกเลี้ยงตามธรรมชาติจนกว่าอายุครบ 5 ปี ก็จะเริ่มออกดอกมาให้ชื่นชม ขณะนี้แหล่งปลูกและอนุบาลว่านเพชรหึง ที่มากที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นมา ทางศูนย์สามารถขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมแล้ว 1,981 ต้น
กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสรรพคุณทางยา สนุนไพร แก้อะไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง เชิญทุกท่านพิจารณาได้เลยครับ
วิธีเพาะ “ว่านหางช้าง”

ค้นพบวิธีเพาะ “ว่านหางช้าง” กล้วยไม้หายาก ต้นละ 500 บาทงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) “ว่านหางช้าง" หรือ "กล้วยไม้เพชรหึง" เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของจังหวัดพังงา และระนอง ลำต้นมีความยาวประมาณ 2 เมตร มีใบเรียวยาวขนาดเล็ก ดอกเป็นพวงประมาณ 120 -170 ดอก มีสีเหลืองลายจุดม่วงเม็ดมะปราง สนนราคาในท้องตลาดอยู่ที่ต้นละ 500 บาท หากกอใหญ่ และดอกสวยซื้อขาย 1500 บาท

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น