วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553



หมาก (Betel Nuts)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu Linn

สถานการณ์ทั่วไป
หมากเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทย ในอดีตคนไทยนิยมกิน
หมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดามักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้งมีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้เรียกว่าข้าวยากหมากแพง ปัจจุบันคนนิยมกินหมากกลดน้อยลง ความสำคัญแห่งวัฒนธรรม ปัจจุบันหมากเปลี่ยนเข้าไปมีบทบาทในแง่อุตสาหกรรมหลายชนิด มีการส่งออกจำน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปลูกง่ายการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โรคแมลงรบกวนน้อย ลงทุนไม่สูง ทำรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปีโดยแนะนำให้ปลูกในลักษณะผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเสริมรายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ Areca eatechu Linn เป็นพืชตระกูลปาล์มชื่อภาษาอังกฤษ Betel
Nuts หรือ Arecanut หรือ Arceanut plam เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

ลำต้น
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก

ใบ
เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก

ดอก
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน

ผล
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง ผลประกอบด้วย 4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

พันธุ์หมาก
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง

การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้ การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม

การปลูกการดูแลรักษา
หมากเจริญเติบโตดี ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก 1 เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่

ฤดูปลูก
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม ระยะปลูกมี 2 แบบ คือ
1. แบบยกร่อง ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ระหว่างต้นห่าง 3 – 5 เมตร ถ้าร่องกว้าง 3 เมตร จะได้หมากไร่ละ 100 – 170 ต้น
2. แบบพื้นราบ ปลูกพื้นราบ ถ้าระยะปลูก 2 X 2 จะได้ต้นหมาก 400 ต้นต่อ 1 ไร่

การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใส่ปุ๋ยขณะลูกหมากอ่อน ๆ ทำให้ผลร่วงการใส่ปุ๋ยควร
ใส่ระหว่างต้นปุ๋ยที่ใส่
1. ปุ๋ยอินทรีย์ 4 ครั้ง/ปี อัตรา 500 – 1,000 กก./ไร่
2. ปุ๋ยเคมี 46 –0 – 0 อัตรา 25 – 5 กก./ไร่/ปี 15 – 15 – 15 , 13 – 13 –21 ใส่ปีละ 1 – 4 ครั้ง อัตรา 50 – 100 กก./ไร่/ปี

การหุ้มต้น
เมื่อหมากอายุ 1 ปี จะเริ่มย่างปล้อง ลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ถ้าถูกแดดเผาจะทำให้ต้นแห้งไม่
เจริญเติบโตและตายได้ การหุ้มจะหุ้มหลังจากหมดฤดูฝนด้วยทางมะพร้าวหุ้มปิดลำต้นแล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น ไม่ควรหุ้มต้นตลอดจะเป็นที่สะสมโรคแมลง

โรคแมลง
โรคแมลงที่สำคัญจะมี 4 โรค
1. โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อราเนื่องจากน้ำฝนขังบริเวณขั้วผล ผลจะเน่าเสียหล่นสะสมบริเวณโคนต้น
2. โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากโรคผลเน่าที่ร่วงหล่นสะสมบริเวณโคนต้น สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม ทำให้มีการรุกลามไปที่รากและโคนต้นอย่างรวดเร็ว
3. โรคยอดเน่า เกิดจากเชื้อรา Pylhium.sp. โรคนี้พบทั้งในระยะต้นกล้าต้นโตที่ตกลงแล้ว ฝนชุกและอากาศความชื้นสูง แผลจะเน่าดำบริเวณโคนยอด ลุกลามต่อจนทำให้ใบยอดเน่า
4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Curvularia.sp. ทำความเสียหายระยะกล้า เกิดเป็นรอยแผลสีเหลืองอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเทา หมากชะงักการเจริญเติบโตและอาจตาย

การป้องกันกำจัด
1. สวนหมากไม่ควรให้มีสภาพแน่นทึบเกินไป ให้มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องไม่ถึงพื้น
2. เก็บทำลายส่วนที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เช่น ผลเน่าเสียที่ร่วงหล่นโดยการเผาทำลาย
3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไชแรม เทอร์ราคลอร์ หรือ เทอร์ราโซน
4. หมากที่เป็นโรคมีอาการมากป้องกันกำจัดไม่ได้ให้โค่นเผาทำลายบริเวณต้นที่เป็นโรคให้ราดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

แมลง
แมลงศัตรูหมากมีหลายชนิด ได้แก่
1. หนอนปลอกกินใบหมาก จะกัดกินใบเหลือแต่ก้าน โคนสร้างเกราะหุ้มตัวไม่ระบาดฤดูฝน การป้องกันกำจัดใช้สารเคมีพวกพาราไธออน อัตราผสมตามคำแนะนำฉีดพ่น
2. ปลวก ในดินมีปลวกอาศัยปลวกอาจจะเข้าไปกินเนื้อไม้ภายในต้นหมากทำให้ต้นหมากตาย การป้องกันกำจัดใช้สารเคมีพวก มาซูดิน ดรากอน ลอสแพน หรือเซฟวินโรยที่รังปลวก

ผลผลิต
การให้ผลผลิตหมากแบ่งออกได้ 2 ช่วง ซึ่งหมากจะให้ผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นหมาก สภาพแวดล้อม อายุและความอุดมสมบูรณ์ ช่วงการเก็บเกี่ยวมีดังนี้
1. หมากปี จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ช่วงผลผลิตหมากมาก กรกฎาคม - สิงหาคม
2. หมากทะวาย เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม หมากทะวายจะมีราคาแพงกว่าหมากปี

การเก็บเกี่ยว
1. ใช้คนปีนขึ้นไปเก็บบนต้น การปีนต้นหมากเหมือนปีต้นมะพร้าว อาจใช้เท้าเปล่าหรือปลอกสรวมเพื่อผ่อนแรง และพักกลางลำต้น ถึงคอหมากจะรองหน้าหมากโดยเก็บมาผ่าดูว่าแก่พอดีหรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็จะตัดทะลาย โดยเฉือนบริเวณขั้วให้เกือบขาดแล้วกระชากโยนลงน้ำในร่องสวนหรือวางบนเข่าแล้วเป็นลงมา
2. ใช้ตะขอสอย โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นด้ามยาวตามความต้องการ ปลายมีตะขอเหล็กลักษณะคล้ายเคียวติดอยู่ใช้โดยให้ตะขอเกี่ยวที่ขั้วทะลายแล้วกระชากให้ขาดล่วงลงมา โดยโคนต้นหมากจะมีคน 2 คน ถือกระสอบรอรับหมากที่หล่นลงมาไม่ให้กระแทกกับพื้น

การทำหมากแห้ง
ผลผลิตหมากนอกจากจำหน่ายเป็นหมากสดหรือหมากดิบก็จะหน่ายเป็นหมากแห้ง การทำหมากแห้งทำได้หลายวิธี
1. หมากแห้งที่ทำจากหมากดิบ มี 5 ชนิด
- หมากซอย
- หมากกลีบสับ
- หมากเสี้ยว หรือหมากเจียน
- หมากจุก
- หมากป่น
2. หมากแห้งที่ทำจากหมากแก่หรือหมากส่ง มี 4 ชนิด
- หมากหั่นหรือหมากอีแปะ
- หมากผ่าสองหรือหมากผ่าซีก
- หมากผ่าสี่
- หมากแห้งทั้งเมล็ด

อัตราส่วนหมากดิบทำเป็นหมากแห้ง
- หมากสด 1,000 ผล ทำหมากแห้งได้ 5 กิโลกรัม
- หมากสง 1,000 ผล ทำหมากแห้งได้ 14 – 15 กิโลกรัม

ตลาดและการจำหน่าย มีการจำหน่าย 3 ลักษณะ คือ
- จำหน่ายในรูปหมากกินหรือหมากสด โดยเกษตรกรจำหน่ายเองที่แปลง
- การจำหน่ายในรูปของหมากสง ราคาจะไม่ดีสู้หมากดิบไม่ได้
- การจำหน่ายในรูปหมากแห้ง เป็นผลผลิตที่มีทั้งการบริโภคภายในประเทศ
และการส่งออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น