วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

betta

RidBetta เอาข้อมูลมาเสริมนะครับ ได้ข้อมูลจากเว็บ siamensis.orgการเพาะพันธ์ ปลากัดหัวโม่ง ตู้ ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้เลี้ยงพรรณไม้น้ำซึ่งใช้ระบบกรองข้าง ธรรมดา ระบบใน การเลี้ยงพรรณไม้น้ำค่อนข้างเต็มรูปแบบ มีไฟฟลูออเรสเซนต์ 4 หลอด พร้อมระบบให้คาร์บอนได ออกไซด์ มีพัดลมเป่าลดความร้อนอุณหภูมิในตู้จึงอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส โดยตลอด ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)นั้นอยู่ที่ประมาณ 7-7.5 ระบบการทำงานของตู้นั้นระบบไฟและระบบ คาร์บอนไดออกไซด์จะเปิดตั้งแต่ 08.00-18.00 น. ในส่วนของกรองข้างนั้นจะทำงานหลังจากที่ ระบบไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ดับแล้วเท่านั้น ตอนกลางวันน้ำจึงนิ่ง ส่วนกลางคืนนั้นน้ำจะไหล เอื่อยๆ เนื่องจากใช้ปั้มน้ำขนาดเล็กเท่านั้นจาก ในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะมีพรรณไม้น้ำจำนวมากในตู้ ซึ่งเป็นสภาพแวด ล้อมที่มีมุมในการหลบหลีกได้ค่อนข้างมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการกัดกันรุนแรงมากนัก นอก จากนั้นยังมีมุมที่จะให้ปลาได้จับคู่กันได้หลายมุมอีกด้วย พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงในตู้ก็เป็นพรรณไม้ น้ำโดยทั่วไปเช่น อนูเบียส, มายาก้า, คาบอมบ้าเขียว,คาดามายด์,เทเนลุส ฯลฯ โดยมีการจัดวาง เถาวัลย์ไม้และขอนไม้ที่ใช้ในการแต่งตู้เป็นหลักก่อน ส่วนปลาชนิดอื่นๆ ที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็มีปลา ตระกูล Catfish และ Dwarf cichlid ด้วย ซึ่งจากที่สังเกตปลากัดอมไข่หัวโม่ง ไม่มีปัญหาในการ เลี้ยงรวมกับปลาเหล่านี้เลย การกัดกันจะมีเฉพาะในกลุ่มปลากัดด้วยกันเองเท่านั้นอาหารที่เลี้ยงนั้นใช้ไส้เดือนน้ำสดให้ทุกวันเช้า-เย็น โดยให้ในปริมาณที่พยายามไม่ให้ เหลือตกค้างในตู้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ อาหารสดอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์พร้อมในการผสมพันธ์ด้วยการสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาตัวผู้และตัวเมียนั้น ในวัยเพาะพันธ์ได้แล้วนั้นจะ ค่อน ข้างสังเกตได้ง่าย โดยปลาตัวผู้จะมีครีบบริเวณกระโดงหลัง หาง และชายน้ำล่าง แหลมออก มา ส่วนปลาตัวเมียนั้นครีบต่างๆจะมีลักษณะกลม มน และบริเวณท้องจะค่อนข้างใหญ่ แต่จะไม่ มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดในกลุ่มก่อหวอดหลัง จากปลาอยู่ในตู้ได้ประมาณสามวัน ก็เริ่มสังเกตได้ว่าปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่กัน ในมุมต่างๆกัน ในช่วงระยะนี้ปลาทั้งคู่จะว่ายอยู่ใกล้ๆกันและรัดกันบ่อยครั้ง โดยหลังจากรัดกัน แล้วจะเป็นฝ่ายตัวเมียที่อมไข่ไว้ก่อน หลังจากนั้นตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา และจะเป็นตัวผู้ที่คอย รับไข่ไป แต่จากการสังเกตแล้วเหมือนจะเป็นการแย่งกันระหว่างตัวเมียและตัวผู้ เนื่องจากพฤติ กรรมที่เห็นปลาตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา หลังจากนั้นก็จะฮุบไข่กลับถ้าตัวผู้ฮุบไข่ไปไม่ทัน แต่หลัง จากนั้นไม่นานก็จะพ่นไข่ออกมาใหม่และจะเป็นตัวผู้ที่ต้องคอยแย่งฮุบไข่ที่ พ่นออกมาให้ทัน ขั้น ตอนจะเป็นเช่นนี้ไปจนตัวผู้รับไข่ทั้งหมดไปไว้ในปาก ในช่วงเวลานี้นั้นปลาตัวเมียจะมีนิสัยก้าว ร้าวหวงถิ่นมาก โดยจะคอยว่ายมาไล่ปลาทุกชนิดให้ออกไปจากบริเวณรังโดยตลอด ส่วนปลา ตัวผู้นั้นจะคอยอยู่ในรังเท่านั้น หลังจากตัวผู้ได้รับไข่ทั้งหมดไปแล้ว ลักษณะแก้มของปลาตัวผู้ จะป่องอย่างเห็นได้ชัดตามรูปที่ 2ใน ช่วงระยะเวลาที่ปลาตัวผู้อมไข่อยู่นั้น ปลาตัวเมียจะกลับมาอยู่อย่างปรกติจะไม่คอย เฝ้ารังอีก ส่วนปลาตัวผู้จะอยู่แต่ในรังและไม่กินอาหารเลยจนกระทั่งได้คายลูกปลาออกมา ทั้งหมด แล้ว ระยะเวลาในการอมไข่จนคายลูกปลาออกมานั้นจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน ลูกปลาที่คายออกมา นั้นลักษณะและขนาดจะเหมือนลูกปลาหางนกยูงโดยทั่วไป จากที่เคยทราบมานั้นลูกปลาที่ออก มาอาจจะโดนกินไปจากปลาที่ใหญ่กว่าได้ แต่เนื่องจากเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำจึงทำให้ลูกปลามี โอกาสหลบตามต้นไม้ต่างๆได้ จากการนับครั้งหลังสุดตอนแยกลูกปลาออกมาอนุบาลอีกตู้นั้น มี ลูกปลาทั้งสิ้น 50 ตัวจากปลาตัวผู้อมไข่ 3 ตัวปลา กัดหัวโม่ง (Betta prima) เป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ที่พบในประเทศไทยมีถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธารน้ำไหลในเขตจังหวัดภาคตะวันออกตอนล่างและเข้าใจว่ามีการกระจาย พันธุ์อยู่ในประเทศเขมรด้วย

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553


ลีลาวดี ต้นไม้ที่นิยมปลูกในการตกแต่งสวนกลางแจ้ง แต่ก่อนเราไม่ค่อยสนใจต้นไม้ชนิดนี้นัก เนื่องจากชื่อเดิมไม่ค่อยเป็นสิริมงคลเท่าไรตามความเชื่อ ต่อมาเมื่อมีการเรียกชื่อใหม่เป็น ลีลาวดี ก็ได้รับความนิยมกันอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ด้วยลักษณะลำต้น ใบ และดอกที่แปลกตา สวยงาม ดูแล้วสบายตาสบายอารมณ์ยามพักผ่อนยิ่งนัก จนทำให้ต้นลีลาวดี เป็นต้นไม้ที่มีราคาค่อนข้างสูง ตามขนาด สีสัน รูปร่างของลำต้น ครูบ้านนอกดอทคอม จึงขอเสนอวิธีการขยายพันธุ์และการเพาะปลูกลีลาวดี สำหรับเป็นอาชีพเสริมให้คุณครูและน้องๆ นักเรียนที่สนใจ นำไปเป็นอาชีพเสริมกันได้ครับ
ลีลาวดี ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria spp. ตระกูล Apocynaceae ชื่อสามัญ Frangipani,Pagoda,Temple ถิ่นกำเนิด เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไป
ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่ง ก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษ ณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะ ปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อ ดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้าง ใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมี ขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี
ฤดูกาลออกดอก ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวง สภาพการปลูก
ลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็น ดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโต ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตา การปลูกและดูแลรักษา
การปลูกในกระถาง
ลีลาวดีจะตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีวัตถุและได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนที่ปลูกนกระถางโดยทั่วไป 50% มูลวัวที่ย่อยสลายดีแล้ว 25% ใบไม้ผุ 25% ดิน การให้น้ำ ใส่น้ำให้ดินในกระถางให้ เปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอาทิตย์ละ 2ครั้ง หรือถ้าช่วงแล้งจัดๆ อาจเป็นวันเว้นวัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความชื้นวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่วัสดุปลูกที่มี ขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นและรากจะไม่สามารถเจริญผ่านจุดนี้ไปได้น้ำก็จะขังไม่สามารถระบายน้ำได้ ในที่สุดจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้
การปลูกลงดินในแปลงปลูก ดินควรเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่ายไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูก ดินควรมี มาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดยึดความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ ในการปลูกลงดิน ให้น้ำแต่นอ้ยให้ปริมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยูรกับสภาพความชื้นอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนแห้งแล้ง ก็ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่ให้น้ำมากเกินไปก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอก การให้ปุ๋ย ลีลาวดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่อง จากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอก ซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยม และกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด

วิธีเพาะสปอร์

วิธีเพาะสปอร์ ฉบับบ้านสปอร์GREENFERN
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ กันก่อนนะคับ1.พีชมอส2.กล่องพลาสติก3.เเผ่นป้ายสำหรับเขียนชื่อกล้วยไม้(TAG)4.ช้อน5.พู่กัน6.เเฮลกอฮอล์7.ดินสอ8.เทปกาว9.สปอร์
ต่อไปก็มาเริ่มลงมือ (ควรทำในห้องที่มิดชิดเพราะ สปอร์อื่นๆๆอาจจะปลิวมางอกได้ ผมเจอประจำเลยมาทำในห้องมิดชิด)1.ต้องนำพีชมอสมาฆ่าเชื้อซะกอ่น เอาพีชมอสใส่หม้อ ใส่น้ำ นำไปต้มประมาณ 20 นาที เมื่อครบ 20 นาที นำลงมา ตั้งไว้ให้เย็น โดยทำให้เย็นเร็วคือ นำไปเเช่ในกะละมังใส่น้ำไว้ รอให้เย็นก่อน ขณะรอพีชมอสเรามาเตรียมอย่างอื่น พลางๆๆ โดยนำกล่องพลาสติก มาล้างให้สะอาด เเละ เช็ดด้วยเเฮลกอฮอล์ 70เปอร์เซ็น เช็ดให้ทั่วกล่องเเละฝาด้วย(ถ้าไม่มีเเฮลกอฮอล์ใช้นำร้อนลวกก้ได้ อาจจะยุ่งยากเพื่อความเเน่ใจ ว่าไม่มีเชื้อโรค เพราะไม่สะอาดทำให้เกิดเชื้อราเเล้วจะทำให้สปอร์เราตายหมด2.เมื่อพีชมอสเย็นดีเเล้ว ก็นำช้อนมาตักพีชมอสใส่กล่องพลาสติก(ช้อนก่อนจะมาใช้ตักพีชมอส เช้ดด้วยเเฮลกอฮอล์ หรือลวกน้ำร้อนก้ได้คับ) ให้ได้ปริมาณ 1ส่วน5 ของกล่อง เเล้วใช้ช้อนเกลี่ยให้เรียบที่สุดอย่าให้เป็นหลุมๆจากนั้นก็ตั้งกล่องพลาสติก เอียงๆไว้เเปบนึงเพื่อสะเด็ดน้ำเเละเทออก จะได้ไม่เเฉะเกินไปจากนั้นก็ใช้พู่กันที่เเห้งเเตะที่ผงสปอร์เเล้วมาเคาะโรยให้ทั่วที่พีตมอส โรย บางๆๆกระจายให้ทั่ว โรยมากเกินไปจะยากตอนเเยกโปรทัลลัส คนที่ขี้เกียจเเยกโปรทัลลัสก็ หว่านบางๆๆ กระจายให้ทั่ว555เสร็จเเล้ว เขียนป้ายชื่อ สายพันธ์ เเละวันที่ เดือน ปีพศ ที่เพาะ ไว้บนป้าย นำไปติดไว้ที่กล่องพลาสติก เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น วิธีการเพาะฉบับบ้านสปอร์greenfernต่อไปก็รอ ประมาณ 12-20วัน เเล้วเเต่อุณภูมิ เเละเเสงที่ได้รับ เมือสปอร์เริ่มงอกเราจะเห็น สีเขียวเล้กๆกระจายไปทั่วๆกล่องในรุปนี่ประมาณ20กว่าวันเเล้วคับงอกเต็มกล่องเเล้วอีกประมาณ 2-3เดือนจะเขียวสดเห็นได้ชัด จะเป็นเเผ่นเล็กๆคล้ายรูปหัวใจมันคือ โปรทัลลัสในรูปกล่องนี้เริ่มมีงอกใบจริง มาบ้างเเล้วคับ พอเป็นโปลทัลลัส มันจะเเน่นเกินไปเราต้อง จับมาเเยกซะ จะได้โตเร็วๆ เเละเกิดใบจริงมากขึ้นด้วย งั้นไปชมต่อ ใน วิธีการเเยกโปรทัลลัสเฟิร์น ครับกล่องเพาะสปอร์ เพาะวันนี้ นำไปวางไว้ที่ ร่มๆ เเดดรำไรหนอ่ยๆ อย่าโดนเเดดโดยตรงเพิ่มเติมหน่อยคับ......สำหรับพีตมอสนั้น หาได้ทั่วไป ตามโลตัส บิ๊กซี เเละร้านเกษตรเเละร้านขายต้นไม้ทั่วไปครับ เเต่จากโลตัสเเละบิ๊กซีจะมี ของ เจียไต๋เเบบนี้นะคับ ดูดีๆ จะมีหลายสูตร เลือกสูตรสำหรับเพาะเมล็ดพืชดูตรงนี้สูตรสำหรับเพาะเมล็ดพืชนี่เเบบเเบ่งขายทั่วไป ตามร้านขายต้นไม้เเละการเกษตรหรือท่านจะสั่งซื้อ จาก ku การ์เด้น ก้ได้ครับhttp://www.kugarden.com/SubBrand.asp?Brand_ID=104

พริกไทย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกพริกไทย : พื้นที่ ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1200 เมตร มีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดินดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 การเตรียมดิน ป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อน ขุดดิน ตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน พื้นที่ที่ลาดชันเกิน 15 องศา ต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันได การเตรียมแปลงปลูก ในกรณีเป็นที่บุกเบิกใหม่ ไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 40-60 เซนติเมตร ไถพรวนหน้าดินอีกครั้งเพื่อให้เรียบ ไม่เป็นแอ่งในแปลงการเตรียมกิ่งพันธุ์ การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ 2. ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง *** นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง ระยะปลูก ใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร ขุดหลุมขนาด กว้างxยาวxลึก 40x60x40 ซม. ปากหลุมห่างจากโคนค้างประมาณ 15 ซม. ผสมดินที่ขุดขึ้นมาในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ต่อดิน 2 ส่วน โกยดินกลบลงในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง หันด้านที่มีรากหรือตีนตุ๊กแกออกนอกค้าง ฝังลงดินประมาณ 2 ข้อ อีกประมาณ 3 ข้ออยู่เหนือผิวดิน กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม การปลูกจะใช้ต้นพันธุ์ 2 ต้น ต่อหลุมหรือค้าง1. พันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร 2. พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร ***การปลูกโดยไม่ใช้ค้างหรือพริกไทยพุ่ม โดยปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับ หรือปลูกเป็นพืชแซมโดยใช้ระยะปลูก 1x1.5 เมตร หรือ 1.25x1.25 เมตรการเตรียมเสาค้างใช้ค้างซีเมนต์ระยะห่าง 2 x 2 เมตร หากใช้ไม้ยืนต้นเป็นไม้ค้าง ควรใช้ระยะปลูก 2 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 2.5 เมตร ในกรณีที่ใช้ค้างซีเมนต์ ผู้ปลูกจำเป็นต้องใช้กระสอบป่านหุ้มค้างไว้ เพื่อให้มีการเก็บความชื้น และเป็นที่ยึดเกาะของรากพริกไทยการปักค้าง ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40x60 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกันปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลูกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้ ***ควรมีการวิเคราะห์ดิน เช่น ค่า pH และปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน ก่อนปลูกการปลูก- ควรปลูกช่วงฤดูฝน- นำต้นพริกไทยที่เตรียมไว้วางลงในหลุมให้เอียงเข้าหาค้าง ประมาณ 2 ข้อฝังดิน และอีกประมาณ 3 ข้ออยู่เหนือดิน การให้น้ำ การให้น้ำช่วงแรก ของการปลูกต้องรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวันจนกระทั่งต้นตั้งตัวได้ดี แล้วลดการให้น้ำเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง ต้นพริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้น้ำ 3-5 วันต่อครั้ง ขึ้นกับความเหมาะสม การปลูกพริกไทยนั้นต้องให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงที่พริกไทยติดผลแล้วจะต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวัน ๆ ละครั้ง และควรคลุมโคนด้วยเศษหญ้าหรือฟางข้าว จะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำได้ดีการตัดแต่งต้นเมื่อต้นพริกไทยเริ่มแตกยอดอ่อน ให้คอยปลิดยอดอ่อนออก และเหลือยอดที่สมบูรณ ์ไว้เพียงต้นละ 2-3 ยอด จัดยอดให้อยู่รอบค้างใช้เชือกฟางผูกยอดให้แนบติดค้าง ผูกทุกข้อเว้นข้อ ถ้ามียอดแตกใหม่เกินความต้องการให้เด็ดทิ้ง เมื่อต้นพริกไทยเจริญงอกงามดีแล้ว ควรตัดไหลที่งอกออกตามโคนทิ้ง ตัดกิ่งแขนงที่อยู่เหนือผิวดิน 8-10 ซม. ออกให้หมด เพื่อให้โคนโปร่ง ในระยะที่พริกไทยยังไม่เจริญเติบโตถึงยอดค้าง ต้องเด็ดช่อดอกออกให้หมด ถ้าทิ้งไว้จะทำให้พริกไทยเติบโตช้า และควรมีการตัดกิ่งส่วนบน เพื่อความสะดวกในการทำงาน ซึ่งจะทำปีละครั้งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้วการทำร่มเงา ในระยะแรกที่ปลูกควรทำร่มให้ต้นพริกไทย อาจใช้ทางมะพร้าวหรือใบปรงทะเลหรือวัสดุอื่นก็ได้ หลังปลูกประมาณ 1 เดือนถอนที่บังร่มออกครั้งละเล็กละน้อย เพื่อให้ต้นพริกไทยค่อย ๆ ชินกับแสงแดด เมื่อพริกไทยสามารถทนต่อแสงแดดปกติ จึงเอาวัสดุบังร่มออกให้หมดปีที่ 1เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน ปีที่ 2ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร ปีที่ 3ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า -------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------


หมาก (Betel Nuts)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu Linn

สถานการณ์ทั่วไป
หมากเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทย ในอดีตคนไทยนิยมกิน
หมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดามักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้งมีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้เรียกว่าข้าวยากหมากแพง ปัจจุบันคนนิยมกินหมากกลดน้อยลง ความสำคัญแห่งวัฒนธรรม ปัจจุบันหมากเปลี่ยนเข้าไปมีบทบาทในแง่อุตสาหกรรมหลายชนิด มีการส่งออกจำน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปลูกง่ายการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โรคแมลงรบกวนน้อย ลงทุนไม่สูง ทำรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปีโดยแนะนำให้ปลูกในลักษณะผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเสริมรายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ Areca eatechu Linn เป็นพืชตระกูลปาล์มชื่อภาษาอังกฤษ Betel
Nuts หรือ Arecanut หรือ Arceanut plam เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

ลำต้น
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก

ใบ
เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก

ดอก
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน

ผล
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง ผลประกอบด้วย 4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

พันธุ์หมาก
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง

การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้ การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม

การปลูกการดูแลรักษา
หมากเจริญเติบโตดี ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก 1 เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่

ฤดูปลูก
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม ระยะปลูกมี 2 แบบ คือ
1. แบบยกร่อง ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ระหว่างต้นห่าง 3 – 5 เมตร ถ้าร่องกว้าง 3 เมตร จะได้หมากไร่ละ 100 – 170 ต้น
2. แบบพื้นราบ ปลูกพื้นราบ ถ้าระยะปลูก 2 X 2 จะได้ต้นหมาก 400 ต้นต่อ 1 ไร่

การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใส่ปุ๋ยขณะลูกหมากอ่อน ๆ ทำให้ผลร่วงการใส่ปุ๋ยควร
ใส่ระหว่างต้นปุ๋ยที่ใส่
1. ปุ๋ยอินทรีย์ 4 ครั้ง/ปี อัตรา 500 – 1,000 กก./ไร่
2. ปุ๋ยเคมี 46 –0 – 0 อัตรา 25 – 5 กก./ไร่/ปี 15 – 15 – 15 , 13 – 13 –21 ใส่ปีละ 1 – 4 ครั้ง อัตรา 50 – 100 กก./ไร่/ปี

การหุ้มต้น
เมื่อหมากอายุ 1 ปี จะเริ่มย่างปล้อง ลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ถ้าถูกแดดเผาจะทำให้ต้นแห้งไม่
เจริญเติบโตและตายได้ การหุ้มจะหุ้มหลังจากหมดฤดูฝนด้วยทางมะพร้าวหุ้มปิดลำต้นแล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น ไม่ควรหุ้มต้นตลอดจะเป็นที่สะสมโรคแมลง

โรคแมลง
โรคแมลงที่สำคัญจะมี 4 โรค
1. โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อราเนื่องจากน้ำฝนขังบริเวณขั้วผล ผลจะเน่าเสียหล่นสะสมบริเวณโคนต้น
2. โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากโรคผลเน่าที่ร่วงหล่นสะสมบริเวณโคนต้น สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม ทำให้มีการรุกลามไปที่รากและโคนต้นอย่างรวดเร็ว
3. โรคยอดเน่า เกิดจากเชื้อรา Pylhium.sp. โรคนี้พบทั้งในระยะต้นกล้าต้นโตที่ตกลงแล้ว ฝนชุกและอากาศความชื้นสูง แผลจะเน่าดำบริเวณโคนยอด ลุกลามต่อจนทำให้ใบยอดเน่า
4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Curvularia.sp. ทำความเสียหายระยะกล้า เกิดเป็นรอยแผลสีเหลืองอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเทา หมากชะงักการเจริญเติบโตและอาจตาย

การป้องกันกำจัด
1. สวนหมากไม่ควรให้มีสภาพแน่นทึบเกินไป ให้มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องไม่ถึงพื้น
2. เก็บทำลายส่วนที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เช่น ผลเน่าเสียที่ร่วงหล่นโดยการเผาทำลาย
3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไชแรม เทอร์ราคลอร์ หรือ เทอร์ราโซน
4. หมากที่เป็นโรคมีอาการมากป้องกันกำจัดไม่ได้ให้โค่นเผาทำลายบริเวณต้นที่เป็นโรคให้ราดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

แมลง
แมลงศัตรูหมากมีหลายชนิด ได้แก่
1. หนอนปลอกกินใบหมาก จะกัดกินใบเหลือแต่ก้าน โคนสร้างเกราะหุ้มตัวไม่ระบาดฤดูฝน การป้องกันกำจัดใช้สารเคมีพวกพาราไธออน อัตราผสมตามคำแนะนำฉีดพ่น
2. ปลวก ในดินมีปลวกอาศัยปลวกอาจจะเข้าไปกินเนื้อไม้ภายในต้นหมากทำให้ต้นหมากตาย การป้องกันกำจัดใช้สารเคมีพวก มาซูดิน ดรากอน ลอสแพน หรือเซฟวินโรยที่รังปลวก

ผลผลิต
การให้ผลผลิตหมากแบ่งออกได้ 2 ช่วง ซึ่งหมากจะให้ผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นหมาก สภาพแวดล้อม อายุและความอุดมสมบูรณ์ ช่วงการเก็บเกี่ยวมีดังนี้
1. หมากปี จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ช่วงผลผลิตหมากมาก กรกฎาคม - สิงหาคม
2. หมากทะวาย เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม หมากทะวายจะมีราคาแพงกว่าหมากปี

การเก็บเกี่ยว
1. ใช้คนปีนขึ้นไปเก็บบนต้น การปีนต้นหมากเหมือนปีต้นมะพร้าว อาจใช้เท้าเปล่าหรือปลอกสรวมเพื่อผ่อนแรง และพักกลางลำต้น ถึงคอหมากจะรองหน้าหมากโดยเก็บมาผ่าดูว่าแก่พอดีหรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็จะตัดทะลาย โดยเฉือนบริเวณขั้วให้เกือบขาดแล้วกระชากโยนลงน้ำในร่องสวนหรือวางบนเข่าแล้วเป็นลงมา
2. ใช้ตะขอสอย โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นด้ามยาวตามความต้องการ ปลายมีตะขอเหล็กลักษณะคล้ายเคียวติดอยู่ใช้โดยให้ตะขอเกี่ยวที่ขั้วทะลายแล้วกระชากให้ขาดล่วงลงมา โดยโคนต้นหมากจะมีคน 2 คน ถือกระสอบรอรับหมากที่หล่นลงมาไม่ให้กระแทกกับพื้น

การทำหมากแห้ง
ผลผลิตหมากนอกจากจำหน่ายเป็นหมากสดหรือหมากดิบก็จะหน่ายเป็นหมากแห้ง การทำหมากแห้งทำได้หลายวิธี
1. หมากแห้งที่ทำจากหมากดิบ มี 5 ชนิด
- หมากซอย
- หมากกลีบสับ
- หมากเสี้ยว หรือหมากเจียน
- หมากจุก
- หมากป่น
2. หมากแห้งที่ทำจากหมากแก่หรือหมากส่ง มี 4 ชนิด
- หมากหั่นหรือหมากอีแปะ
- หมากผ่าสองหรือหมากผ่าซีก
- หมากผ่าสี่
- หมากแห้งทั้งเมล็ด

อัตราส่วนหมากดิบทำเป็นหมากแห้ง
- หมากสด 1,000 ผล ทำหมากแห้งได้ 5 กิโลกรัม
- หมากสง 1,000 ผล ทำหมากแห้งได้ 14 – 15 กิโลกรัม

ตลาดและการจำหน่าย มีการจำหน่าย 3 ลักษณะ คือ
- จำหน่ายในรูปหมากกินหรือหมากสด โดยเกษตรกรจำหน่ายเองที่แปลง
- การจำหน่ายในรูปของหมากสง ราคาจะไม่ดีสู้หมากดิบไม่ได้
- การจำหน่ายในรูปหมากแห้ง เป็นผลผลิตที่มีทั้งการบริโภคภายในประเทศ
และการส่งออก

ว่านหางช้าง


จากว่านเพชรหึง.........เป็นว่านหางช้าง (กล้วยไม้..ที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
ว่านมงคล..ยอดฮิต
สวัสดีครับ ทุกท่าน เมื่อกลางเดือนที่แล้วผม มีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)ชาวบ้านเรียกศูนย์เนื้อเยื่อ ที่นี่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ที่หายากและมีขนาดใหญ่ที่สุด ผมเลยคัดลอกบทความของท่านผอ.วันชัย มาให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษารับรู้ไปพร้อมๆกันว่ากล้วยไม้หรือว่าว่านหางช้างมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
กล้วยไม้ว่านเพชรหึง" หรือที่ชาวปักษ์ใต้รู้จักกันในชื่อ "ว่านหางช้าง" เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่งที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางของกล้วยไม้ที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงาม และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น โดยกล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในสกุล "แกรมมาโทฟิลลั่ม" (Grammatophyllum) ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae"ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง" หรือชื่อเดิมว่า "ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง" นั้นได้เริ่มศึกษาและขยายพันธุ์กล้วยไม้พันธุ์นี้ เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนและประชาชนทั่วไป นับตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค.ปี 2545 เป็นต้นมา จนสามารถขยายต้นพันธุ์ได้แล้วถึง 50,970 ต้น จากการศึกษาพบว่า "ว่านเพชรหึง" มักจะอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวและมีต้นโตมาก จนถือได้ว่าเป็น "ราชินีกล้วยไม้" แต่คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกว่า "ว่านหางช้าง" เนื่องจากลำลูกกล้วยมีลักษณะที่ยาว และมีใบติดอยู่ที่ปลายหลายใบ คล้ายกับหางช้างที่ชี้ขึ้นด้านบน นายวันชัย มุกดารัศมี ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า โดยทั่วไปว่านเพชรหึง เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ และมีต้นสูงราว 1-2 เมตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางต้น 3-5 เซนติเมตร ทั้งนี้ จะมีใบติดอยู่ที่ปลายลำลูกกล้วยเพียง 2-3 ใบ ส่วนดอกก็จะมีทั้งดอกชนิดช่อตั้งและช่อห้อย โดยกลีบดอกนั้นจะหนา มีพื้นกลีบสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว และยังจะมีแต้มน้ำตาลหรือม่วง คล้ายกับลวดลายของเสือ
ทั้งนี้ เมื่อศึกษาแล้วจะพบว่าว่านเพชรหึงนั้น เป็นกล้วยไม้ป่าที่หากยากและเป็นกล้วยไม้พันธุ์พืชสงวน โดยมีบางคนที่นำออกจากป่ามาปลูก แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูหรือขยายพันธุ์ได้ จึงทำให้กล้วยไม้พันธุ์นี้เริ่มที่จะสูญพันธุ์ ทางศูนย์จึงนำมาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งโดยธรรมชาติของกล้วยไม้ชนิดนี้ เมื่อผสมเกสรและติดฝัก จะมีเมล็ดขนาดเล็กมากนับแสนๆ เมล็ด ที่ล่องลอยออกไปตามกระแสลม ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกๆ ปี แต่จะมีเพียงไม่กี่เมล็ดเท่านั้นที่สามารถรอดได้ การขยายพันธุ์ว่านเพชรหึงด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จะเริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดและการดูแลอย่างดีในห้องปลอดเชื้อ (ห้องแล็ป) เป็นระยะๆ จนกว่าต้นกล้าจะโตและแข็งแรง ก่อนที่จะนำออกมาเลี้ยงแบบธรรมชาติ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นก็นำมาปลูกเลี้ยงตามธรรมชาติจนกว่าอายุครบ 5 ปี ก็จะเริ่มออกดอกมาให้ชื่นชม ขณะนี้แหล่งปลูกและอนุบาลว่านเพชรหึง ที่มากที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 เป็นต้นมา ทางศูนย์สามารถขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมแล้ว 1,981 ต้น
กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสรรพคุณทางยา สนุนไพร แก้อะไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง เชิญทุกท่านพิจารณาได้เลยครับ
วิธีเพาะ “ว่านหางช้าง”

ค้นพบวิธีเพาะ “ว่านหางช้าง” กล้วยไม้หายาก ต้นละ 500 บาทงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) “ว่านหางช้าง" หรือ "กล้วยไม้เพชรหึง" เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของจังหวัดพังงา และระนอง ลำต้นมีความยาวประมาณ 2 เมตร มีใบเรียวยาวขนาดเล็ก ดอกเป็นพวงประมาณ 120 -170 ดอก มีสีเหลืองลายจุดม่วงเม็ดมะปราง สนนราคาในท้องตลาดอยู่ที่ต้นละ 500 บาท หากกอใหญ่ และดอกสวยซื้อขาย 1500 บาท

















กระเช้าสีดา


วิธีสังเกตสปอร์ที่ใบเฟินนั้นแก่พอหรือยัง
สำหรับที่นี่ วิธีุง่ายๆ เบื้องต้นสำหรับเฟินทั่วไปคือ เมื่อสปอร์เฟินแก่พอ กลุ่มสปอร์จะเห็นเป็นเม็ดฟู ให้เราลองเอานิ้วมือลูบที่กลุ่มสปอร์เบาๆ หากมีผงสปอร์เล็กๆ ติดนิ้วมา นั่นแสดงว่า สปอร์แก่พร้อมจะปลิวไปงอกได้ เหมาะที่จะเก็บไปเพาะได้ หรือหากเรามีแว่นขยาย แบบที่ใช้ส่องพระเครื่อง ยิ่งช่วยได้มาก สามารถใช้ส่องดู กลุ่มสปอร์ฟูมากพอหรือยัง หรือเยื่ออินดูเซียเปิดหรือยัง เป็นต้น
การเก็บสปอร์เพื่อนำมาเพาะ
เมื่อเราพิจารณาแล้วว่า สปอร์แก่เต็มที่แล้ว ให้ตัดใบเฟินที่มีสปอร์นั้น อาจจะตัดทั้งใบ หรือตัดเพียงบางส่วนของใบที่มีสปอร์ แล้วให้ห่อไว้ด้วยกระดาษทึบ หรือใส่ซองจดหมายห่อไว้ก็ได้ ควรเขียนบันทึกบนห่อ ระบุ ชื่อเฟิน สถานที่ วัน/เดือน/ปี ที่เก็บมาก่อนห่อใบเฟิน หากใบยังเปียกแฉะอยู่ ควรรอให้ใบแห้งหมาดก่อน หรือหากไม่ต้องการตัดใบเฟิน สามารถเขี่ยหรือปัดสปอร์จากใบบนต้น ใส่ห่อไว้เลยก็ได้หากสะดวกทำได้ ต่อจากนั้น นำห่อนั้นไปเก็บไว้ในที่ร่มแห้ง เช่นในบ้าน ในอาคาร เป็นต้น


ชื่อไทย :
ข้าหลวงหลังลาย
ชื่อสามัญ :
Bird's Nest Fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Asplenium nidus
เฟินพบกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย จัดว่าเป็นเฟินอิงอาศัย มักเกาะอยู่ตามต้นไม้ และโขดหิน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวรูปทรงกระบอกอาจยาวได้เกิน 1 เมตร เป็นเฟินที่รู้จัก และนิยมปลูกกันทั่วไป เฟินข้าหลวงมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นเฟินป่า และเฟินที่กลายพันธุ์จาก
การขยายพันธุ์ของเฟินด้วยสปอร์ เป็นการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ เกิดในช่วงชีวิตที่เป็น gametophyte หรือสปอร์ของเฟินงอกเป็นโปรธัลลัส ซึ่งโปรธัลลัสที่เจริญเติบโตเต็มที่ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ anteridium และ(หรือ) เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย angionium เมื่อมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น จะได้เฟินต้นอ่อนใหม่ เป็น sporophyte ต้นเฟินรุ่นใหม่ และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะทำหน้าที่สร้างสปอร์ ปล่อยแพร่กระจายออกไป งอกเป็น gametophyte เพื่อการผสมพันธุ์สร้างเฟินรุ่นใหม่ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์สืบไป เป็นวัฏฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป
การเพาะเฟินจากสปอร์ มีหลายคนคิดกันว่า เป็นเรื่องลี้ลับและซับซ้อนยุ่งยาก แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น หากคุณได้ลองดูศึกษาจากตัวอย่างวิธีการของพวกเราที่นี่ แล้วคุณจะทราบว่า คุณเองก็สามารถทำได้์ อาศัยความเข้าใจหลักการของ วงจรชีวิตและธรรมชาติของเฟิน และมีความพยายาม ความอดทนและหมั่นคอยเอาใจใส่ดูแล แม้จะใช้ระยะเวลานาน หลายเดือนและอาจนานเป็นปีๆ แล้วความพยายามของคุณ จะได้รับการตอบแทนด้วยเฟินต้นใหม่ที่คุณเพาะขึ้นเอง เป็นรางวัลและความภาคภูมิใจของคุณ อีกทั้งจะได้พบกับความรู้ใหม่อีกหลายๆ อย่าง ในธรรมชาติของเฟินจากการเพาะเฟินจากสปอร์
หลังจากที่ fernSiam ได้เผยแพร่วิธีการเพาะสปอร์ ในรูปแบบของงานอดิเรกตามแบบฉบับของเราเอง ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เป็นที่น่าดีใจที่มีเพื่อนๆ หลายคน สามารถเพาะเฟินจากสปอร์กันได้มากมาย อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันและกัน จึงมีการปรับปรุงเนื้อหาและขยายรายละเอียด วิธีการและเทคนิควิธีการต่างๆ รวมไปถึงปัญหาต่างๆ ที่แต่ละคนประสบต่างกันไป และที่แน่ๆ พวกเราได้เฟินต้นใหม่ ที่เกิดจากสปอร์ ที่พวกเราเพาะกันออกมาได้มากมายด้วยเช่นกัน
สำหรับวิธีการเพาะและอุปกรณ์ที่ใช้ แต่ละคน อาจมีวิธีการในรายละเอียดและเทคนิค หรืออุปกรณ์ที่ใช้ แตกกต่างกันไปมากมาย บางคนอาจเคยเพาะเองมาแล้ว หรือเคยเห็นคนอื่นเพาะ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการใช้เครื่องปลูก เครื่องเพาะ และอุปกรณ์ต่างๆ หลากหลายชนิด แต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ล้วนมาจากหลักการจากธรรมชาติเดียวกันทั้งสิ้น

มะฮอกกานีใบใหญ่

มะฮอกกานีใบใหญ่


ชื่อพื้นเมือง มะฮอกกานีใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Swietenia macrophylla king.
การขยายพันธุ์ มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีปริมาณนำ้ฝนสูง มีช่วงแล้งไม่ยาวนาน มีความชุ่มชื้นสูง สภาพดินเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย
วิธีการปลูก ต้นกล้าที่เหมาะแก่การนำไปปลูกควรมีความสูงประมาณ 30 ซม. หลุมปลูกขนาด 30x30 ซม. อาจรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยฟอสเฟต ระยะปลูกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยม คือระยะ 4x4 เมตร ภายหลังการปลูกควรมีการกำจัดวัชพืชและการตัดแต่งกิ่ง
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้มีสีนำ้ตาลแดง แข็งและเหนียว จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเครื่องเรือน วงกบประตู-หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์และไม้แกะสลัก เป็นต้น

ข่าเงินล้านที่ตำบลบ้านนา

ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลายชนิดอยู่ร่วมกันจนเรียกกันว่า ปลูกพืช 4 ชั้น คือ ชั้นที่หนึ่งอยู่บนสุดเป็นหมาก มะพร้าว สะตอ ชั้นที่สองเป็นไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ต่ำลงมาชั้นที่สามเป็นกาแฟ ชะอม ส้มป่อย ผักเหลียง และชั้นที่สี่อยู่บนผิวดิน และใต้ดิน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น กระชาย เป็นต้น และจากการที่เกษตรกรปลูกพืชที่มีความหลากหลายเช่นนี้ ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดปี ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญทำให้เกษตรกรมีรายได้รายวัน รายเดือนและรายปี พืชที่ทำรายได้รายวันที่สำคัญคือ ข่าเหลือง ซึ่งรอบปีที่ผ่านมาสามารถนำ เงินตราเข้าหมู่บ้าน ได้กว่า 30 ล้านบาท ข่าเงินล้านที่ตำบลบ้านนา ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จึงเป็นอีกทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดระนองที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ข่าเหลืองเงินล้าน จริงหรือ? สำนักงานเกษตรอำเภอกะเปอร์ ได้เก็บข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข่าเหลือง ในพื้นที่มีเกษตรกรตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ ปลูกข่าเหลือง 243 ราย เนื้อที่ 492 ไร่ ใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกข่าได้จำนวน 6,400 หลุม (กอ) หลังปลูก 5 - 6 เดือน สามารถขุดขายได้ โดยเฉลี่ยน้ำหนักกอละ 1.5 กิโลกรัม จะได้ผลผลิต เฉลี่ย 9,600 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อขุดข่าแล้วต้องนำมาทำความสะอาด บรรจุถุงและจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน ราคาซื้อขายกิโลกรัมละ 10 - 12 บาท รายได้เมื่อหักค่าใช้จ่าย แล้วประมาณ 80,000 บาทต่อไร่ เกษตรกรตำบลบ้านนา ปลูกข่าเหลือง 492 ไร่ รายได้ไร่ละ 80,000 บาท คิดเป็นเงิน 39,360,000 บาท หรือเท่ากับ 39 ล้านบาทเศษต่อ 1 ฤดูกาลปลูก และในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน ข่าเหลืองของเกษตรกรกระทบแล้ง ผลผลิตที่ได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นถึง 15 - 16 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น คำว่า "ข่าเงินล้าน" สำหรับหมู่บ้านนี้ จึงเป็นไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ผู้นำการปลูกข่าเหลือง นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม อยู่บ้านเลขที่ 19/30 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ โทร. 0-7789-0005 เล่าว่า ปลูกข่าเหลืองมาตั้งแต่ปี 2540 โดยใช้พันธุ์ที่ได้จาก เพื่อนบ้าน ซึ่งนำมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีีสาน) เพื่อปลูกไว้กินเองเหลือจากกินก็นำไปขาย ปรากฏว่า ตลาดมีความต้องการสูง จึงสนใจหันมาปลูกข่าเหลืองกัน เมื่อถามว่า ปลูกข่าเหลืองดีกว่าปลูกพืชชนิดอื่นอย่างไร นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ลงทุนต่ำ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โรค-แมลงรบกวนน้อย ให้ผลตอบแทนสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกกาแฟ พบว่า ปลูกข่าเหลือง 3 ไร่ ดีกว่าการปลูกกาแฟ 5 ไร่ และอนาคตข่าเหลืองมีแนวโน้มสดใสกว่ากาแฟอีกด้วย เพราะตลาดยังมีความต้องการสูง ที่ตำบล บ้านนาเกษตรกรปลูกทั้งตำบล แต่ผลผลิตข่าเหลืองก็ยังไม่พอต่อความต้องการของตลาด เหตุผลที่ปลูกข่าเหลือง นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า ข่าเป็นพืชคนจน เกษตรกรส่วนใหญ่มักไ่ม่สนใจ แต่จะหันไปสนใจพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน แต่ตนเองมองว่าพืชเหล่านั้นกินไม่ได้ ให้ผลตอบแทนช้า จึงได้สนใจปลูกข่าเหลืองเป็นเจ้าแรกเมื่อหลายปีก่อน ในระยะแรกไม่มีคู่แข่งการตลาดก็ไม่มีปัญหา ต่อมามีเพื่อนเกษตรกร ปลูกข่าเหลืองมากขึ้น จนถึงทุกวันนี้ปลูกกันทั้ง 8 หมู่บ้าน ในตำบลบ้านนา คู่แข่งมากขึ้น จึงต้องพัฒนาด้านคุณภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด เพราะผลผลิตมีมาก คนรับซื้อก็มาก การกระจายสินค้า (ข่า) ก็มากตามไปด้วย การปลูกข่าเหลือง นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า การปลูกข่าเหลือง จะต้องวางแผนการผลิตให้สามารถออกสู่ตลาดได้ตลอดปี (เว้นช่วงเก็บเกี่ยวกาแฟ) ทำให้มีรายได้ทุกเดือน สำหรับ การปลูกข่าเหลือง ปลูกได้ตลอดปี โดยเฉพาะแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ ดินที่ปลูกควรเป็นที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ไม่อุ้มน้ำ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรครากเน่าได้ และควรปรับปรุงดิน ด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก หรือใส่แกลบกาแฟเพิ่มความร่วนซุยให้แก่ดิน จะทำให้ได้ข่าเหง้าโต น้ำหนักดี ใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 30x30x20 เซนติเมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ 6,400 หลุม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กระป๋องนม การคัดเลือกพันธุ์ที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย แบ่งเหง้าพันธุ์แต่ละเหง้าให้มีตา 3-5 ตา ใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 1,500 - 2,000 กก.ต่อไร่ หรือเท่ากับเหง้าพันธุ์ 1 กก. ต่อ 3 หลุม จากนั้นนำเหง้าพันธุ์มาชุบด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูก การปลูกให้ฝังเหง้าพันธุ์ ลึก 5-7 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ถ้าใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะกล้าไว้ในถุงพลาสติก ขนาด 8x10 นิ้ว ก็จะใช้ 1 ถุงต่อ 1 หลุมใน 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 6,400 ถุง การดูแลรักษา หลังจากปลูกข่าเหลือง สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องคอยกำจัดวัชพืช อย่าให้ขึ้นรกท่วมแปลงปลูก สำหรับนางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม จะใช้วิธีการถอน จะไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะจะมีผลกระทบต่อข่าเหลืองและมีสารพิษตกค้าง และไม่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชใด ๆ จึงรับรองได้เรื่องความปลอดภัยจากสารพิษ การใส่ปุ๋ย นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า่ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หลังปลูก 3 เดือน และ 4 - 5 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 โดยการโรยบางๆ รอบโคนต้น และควรหาแกลบกาแฟหรือเศษหญ้าแห้งคลุมโคน จะทำให้ข่าเหลืองเจริญเติบโตดี เหง้าโตขนาดจัมโบ้ สิ่งสำคัญในการปลูกข่า คือขาดน้ำไม่ได้และดินแฉะเกินไปก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้ เกิดโรครากเน่า ส่วนปัญหาโรคแมลงรบกวนมีน้อย เพราะข่ามีกลิ่นเฉพาะตัวที่ช่วยขับไล่แมลง การเก็บเกี่ยว เมื่อข่าเหลือง อายุได้ 5-6 เดือน ก็สามารถขุดขายได้ วิธีการขุด โดยใช้จอบหรือเสียมขุดขึ้นมาทั้งกอ ตัดใบทิ้ง แล้วนำมาทำความสะอาด ใช้เครื่องพ่นสารเคมีแรงสูง แต่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีฉีดพ่นน้ำทำความสะอาด ลอกกาบ ล้างดินและต้องคอยระวังอย่าให้ช้ำ เพราะแรงดันของน้ำแรงมาก จากนั้นนำมาตัดแต่งราก ตัดแต่งลำต้นและบรรจุถุง รอการจำหน่าย นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า ข่าเหลืองโดยเฉลี่ยจะใ้ห้ผลผลิตกอละ 1.5 กิโลกรัม ใน 1 ไร่ ปลูก 6,400 กอ จะได้น้ำหนักประมาณ 9,600 กิโลกรัม ๆ ละ 12 บาท จะมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 115,200 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าไร่ละ 80,000 บาท ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 - 6 เดือนเท่านั้น ในช่วงที่เก็บเกี่ยวเกษตรกรคนเก่งบอกว่า จะปลูกใหม่ทดแทนไปทันที จะไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่าง จึงทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดปี การตลาด นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า การตลาดไม่มีปัญหา มีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน ในระยะแรกเมื่อ 7 - 8 ปีก่อน ปลูกข่าเหลืองกันน้อย พ่อค้าไม่ค่อยรู้จัก ต่อเมื่อมีการขยายปลูก กันทั้งตำบลบ้านนา จึงทำให้ดึงดูดพ่อค้าเข้ามาถึงพื้นที่ ปัจจุบันมีพ่อค้าเข้ามาซื้อข่าและพืชผักชนิดอื่นด้วย เช่น ขมิ้น กระชาย ชะอม ส้มป่อย ทุกวัน ๆ ละ 7 - 10 คันรถปิคอัพ สำหรับ ของตนเอง จะสามารถขุดข่าเหลืองขายได้วันเว้นวัน ราคาที่ขายได้ กิโลกรัมละ 10 - 12 บาท แต่ในช่วงฤดูแล้งราคาจะแพงถึงกิโลกรัมละ 15 - 16 บาท นางสัมภาษณ์ อยูุ่สุ่ม บอกอีกว่า นอกจากข่าเหลืองแล้ว ตนเองได้ปลูกขมิ้นอยู่อีกจำนวนมาก ผลผลิตประมาณ 10 ตัน ขณะนี้รอการขุดขาย ซึ่งคาดว่าจะเป็นพืชที่ทำรายได้อีกพืชหนึ่งด้วย ในตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ เกษตรกรปลูกข่าเหลืองกันมาก ทำให้เกษตรกรมีงานทำและมีรายได้ตลอดปี แต่ในช่วงแล้งจะมีปัญหาเรื่องน้ำ ทำให้ข่าเหลืองออกสู่ตลาด น้อยลง มีเกษตรกรหลายคนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ได้ใช้ระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงข่า ทำให้ข่าเจริญเติบโตดี เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่ากำหนด ผลผลิตที่ได้ก็สูงกว่าเดิมมาก ดังเช่น นายอาทิตย์ จันทราศรี อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนา บอกว่าได้ใช้ระบบน้ำเข้าช่วยในฤดูแล้งทำให้ข่าเหลืองเจริญเติบโตดีมาก ขุดขายได้เร็วขึ้น สำหรับด้านการตลาดก็ไม่มี ปัญหา พ่อค้ามาแย่งกันซื้อ เพราะช่วงฤดูแล้ง ข่าเหลืองขาดตลาด นายพิทยา สมบุญ พ่อค้าพืชผักจากอำเภอกะเปอร์ โทร. 0-1270-5744 เล่าว่าเข้ามารับซื้อพืชผักจากตำบลบ้านนามา 9 ปีแล้ว นอกจากตนยังจะมีพ่อค้ารายอื่นอีกกว่า 10 ราย ที่ไ้ด้เข้ามารับซื้อทุกวัน ตลาดแหล่งใหญ่อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ชุมพร รวมทั้งจังหวัดระนองด้วย ช่วงนี้รับซื้อข่าเหลืองจากเกษตรกร กิโลกรัมละ 15 บาท และพืชผักชนิดอื่น ก็ซื้อ เช่น ตะไคร้ มัดละ 100 ต้น 15 บาท ขมิ้นกิโลกรัมละ 8 บาท กระชายกิโลกรัมละ 10 บาท

ปลูกเตยหอม

สมพงษ์ ยิ้มโฉม เกษตรกรคนเก่ง แห่งบ้านเขานางหงษ์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ทำการเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น ยางพารา ทุเรียน มังคุด ลองกอง กระท้อน หมาก มะพร้าว เงาะ รวมทั้งปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น มะลิ กุหลาบ ดาวเรือง เตยหอม และมีบ่อเลี้ยงปลา และปลูกบัว นอกจากนี้ มีการเลี้ยงไก่ เป็ด ไว้กินไข่อีกด้วย น้าสมพงษ์ ยิ้มโฉม วัย 68 ปี ย้อนอดีตให้ฟังว่า มีภูมิลำเนา อยู่ระโนด จังหวัดสงขลา ภรรยา เป็นชาวพัทลุง เมื่อปี 2520 จำเป็นต้องปลีกตัวจากภัยการเมืองยุคนั้น มาอยู่ระนอง เริ่มต้นด้วยการปลูกผักขายและทำการเกษตร จนมีทุนทรัพย์พอ จึงซื้อที่ดินเพิ่ม ถึงทุกวันนี้ มี 50 ไร่ ปลูกพืชหลากหลายชนิดเต็มพื้นที่
ปลูกเตยหอมในสวนยาง สวนมังคุด ด้วยความที่น้าสมพงษ์ ยิ้มโฉม อยู่ในวงการไม้ดอกไม้ โดยปลูกมะลิ ขายดอกสด และร้อยพวงมาลัยขายมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี และปลูกไม้ดอกอื่น ๆ เสริมบ้าง เช่น ดาวเรือง กุหลาบ บัว ฯ ทำให้ทราบว่า ในแวดวงคนขายดอกไม้ไม้ประดับ มีความต้องการเตยหอม เพื่อใช้ประดับตกแต่ง ช่อดอกไม้ไหว้พระ หรืองานมงคลอื่น ๆ เดือนละจำนวนมาก โดยสั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด ราคาต้นละ เกือบ 1 บาท น้าสมพงษ์ ยิ้มโฉม จึงมีความคิดว่า เราน่าจะปลูกเตยหอมเองได้ ส่งให้ร้านดอกไม้ ในราคาที่ถูกกว่าเพียง 30 สตางค์ต่อต้น เราเองก็มีรายได้เพิ่ม แม่ค้าไม้ดอกก็ไม่ต้องซื้อของแพงจากต่างจังหวัด ประกอบกับก่อนหน้านี้ เคยปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำอยู่แล้ว จึงคิดว่าระบบรากของแฝกและเตยหอม น่าจะคลุมหน้าดินและอนุรักษ์ผิวหน้าดินได้ดีพอพอกัน จึงเริ่มนับหนึ่ง ปลูกเตยหอม นับถึงวันนี้ กว่า 5 ปีแล้วที่ปลูกเตยหอมขาย และขยายพื้นที่จนเต็มที่ว่างในสวนยางพารา สวนมังคุด และอื่น ๆ รวมกว่า 7 ไร่ ส่วนการดูแล ก็ไม่ได้ยุ่งยาก ให้น้ำตามสมควร เนื่องจากเตยหอมต้องการน้ำมาก ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 4 เดือนต่อครั้ง เพียงแค่นี้ เตยหอมก็เจริญเติบโตดี ยอดอ่อนสวยงาม
นายสมพงษ์ ยิ้มโฉม กับเตยหอมในสวนมังคุดและสวนยางพารา
ปลูกเตยหอม บนพื้นที่ว่างในสวนยางพารา
การตลาด ตัดขายทุกวันพระ ครั้งละ 20,000 ต้น ด้านการตลาด น้าสมพงษ์ ยิ้มโฉม กล่าวว่า ด้วยความที่ปลูกมานานหลายปี เตยหอมขึ้นปกคลุมเต็มพื้นที่ที่ปลูก ทำให้สามารถตัดต้น (ยอดอ่อน) ขายได้ทุกวันพระ ครั้งละ 20,000 ต้น ขายต้นละ 0.30 บาท ทำให้มีรายได้ 6,000 บาทต่อวันพระ เดือนละ 24,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่าย เช่น ค่าจ้างคนงานฯ แล้ว ก็มีรายได้ดีพอสมควร นอกเหนือจากรายได้จากพืชอื่น ๆ ที่ปลูกผสมผสาน นายสมพงษ์ ยิ้มโฉม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เตยหอม นอกจากจะเป็นพืชที่ตลาดไม้ดอกต้องการมากแล้ว ตราบใดที่คนเรายังทำบุญไหว้พระ แสวงหาที่พึ่งทางใจ เตยหอมยังเป็นพืชที่ช่วยรักษาความชื้นให้กับดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ดีอีกด้วย
นายสมพงษ์ ยิ้มโฉม กับเตยหอมในสวนมังคุดและสวนยางพารา
ปลูกไม้ดอก (ดาวเรือง มะลิ) บนคันบ่อเลี้ยงปลา
ปลูกบัว และเลี้ยงปลา
นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรที่น้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการทำการเกษตร โดยการปลูกพืชที่มีความหลากหลาย ลดความเสี่ยงจากภาวะการตลาด และเป็นการพึ่งพาตนเองได้ดี ก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน หากท่านที่สนใจดูงาน ติดต่อคุณสมพงษ์ ยิ้มโฉม บ้านเลขที่ 121 หมู่ที่ 5 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โทร.0-7783-1300